homeprovincearchitecturepaintsculpturecontact
 

วัดสิมนาโก

ประวัติความเป็นมา

วัดสิมนาโก  ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ โดยมีพระาจารย์ลี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และประธานฝ่าย ฆราวาส มี ๓ คน คือ นายกลาง  สียา  นายชาบดี  และนายโยธี  พร้อมด้วยชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้น  วัดสิมนาโก  ได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร การบริหรและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระลี  ยันตะสีโล พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๑๐     
รูปที่ ๒ พระสุรีย์  อภิชาโต พ.ศ. ๒๔๑๕-๒๔๔๕    
รูปที่ ๓ พระคำ  พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๔๖๐
รูปที่ ๔ พระยิ่ง  สีลเตโช พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๐
รูปที่ ๕ พระบุดดี  นาโค พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๔๗๒
รูปที่ ๖ พระครูพิศาล  ศิลปยุต พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๕๒๒
รูปที่ ๗ พระครูเมตตาคุณาภรณ์ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๒  
การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม  เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ เป็นต้นมา  การศึกษามีโรงเรียนพรปริยัติธรรมแผนกบาลี  เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ  เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด  เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ที่บ้านนาโก ถนนนาโกพิศาลราษฎร์ หมู่ที่ ๗ ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๑๒  ตารางวา  น.ส.๓ ก เลขที่ ๔๐๙๒  อาณาเขตทิศเหนือประมาณ ๓ เส้น  จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ ๓ เส้น จดบ้านเลขที่ ๑๔๓  ทิศใต้ประมาณ ๓ เส้น  จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ ๓ เส้น จดบ้านเลขที่ ๓๒๘, ๗๓๕ และ ๗๒๙ อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ  กว้าง ๘ เมตร  ยาว ๑๔ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฎิสงฆ์  จำนวน ๕หลัง เป็นอาคารไม้  ๑ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๔ หลัง วิหาร กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร เป็นอาคารทรงไทยอีสาน ศาลาอเนประสงค์ อาคารหอพิพิธพันฑ์  และอาคารสำนักงานคณะสงฆ์  อำเภอกุฉินารายณ์ ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปโบราณ ทำด้วยพลอยบุษราคัม ปางสมาธิ พระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย ๒ องค์ พระพุทธรูปทองสำริด  ปางมารวิชัย  ๓ องค์ พระพุทธรูปหินศิลา ๓ องค์ และโบราณวัตถุมีเครื่องปั้นดินเผาของคนสมัยโบราณ ๓๐ ใบ ไม้แกะสลักลายดอกไม้  จำนวน ๓๐ แผ่น  ไม้แกะสลักรูปพญานาคจำนวน ๑๒ อัน และเงินตราของไทยสมัยต่างๆ

อาคารเสนาสนะ

สิมวัดสิมนาโก เริ่มสร้าง  พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๖ ประธานในการก่อสร้าง คือ พระอาจารย์ลี  ร่วมกับพระครูพิศาลศิลปยุต (อดีตเจ้าคณะอำเภอบัวขาว) ซึ่งท่านเป็นช่างอยู่ในตัว  ครั้งแรกใช้ช่างซึ่งบวชเป็นพระมาจาก  บ.พุ่มแก  อ.นาแก  จ.นครพนม  ซึ่งได้เทคนิคการก่ออิฐจากช่าญวนมาเริ่มก่อประตูโค้งให้  นอกนั้นท่านพระครูพิศาลศิลปยุตได้ควบคุมเองทั้งหมด  อิฐก่อสร้างเอาดินจากที่นาบ้านนาโก  ชาวบ้านช่วยกันปั้นเอง  ปูนขาวนำมาจากภูหินปูน  บ.หนองห้าง  ทวยนาคทั้ง ๑๐ ตัวนั้น ใช้ช่างพื้นบ้านของ บ.นาโก เป็นผู้แกะสลัก  เป็นที่น่าสังเกตุว่านาคแต่ละตัวจะผิดแผกกันไป  ตามการออกแบบที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันอย่างสนุกสนาน  ส่วนเสมาหินนั้น  ทางวัดได้นำมาจาก ดงหลักสิม ใกล้กับบ้านซาด  ต.นาโก นั้นเอง  อดีตด้านหน้าของสิมหลังนี้มีอาคารหลังคาปั้นหยาขวางอยู่  หลังหนึ่งเรียก “หอเย็น” ไว้สำหรับประชุมสงฆ์ก่อนทำสังฆกรรมและให้กุลบุตรรอก่อนพิธีอุปสมบทช่างออกแบบโดยพระครูพิศาลศิลปยุต ปัจจุบันรื้อถอนแล้ว และมีการบูรณะสิมใหม่

 
 

รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง

แปลนรูป ๔ เหลี่ยมผืนผ้า   ความยาว ๔ ช่วงเสา  ยาว ๑๔.๒๐ เมตร กว้าง ๖.๖๐ เมตร หังคาเป็นจั่วชั้นเดียวคลุมตลอด  ตัวสิมแบ่งเป็น ๕ ช่วงเสา โดยช่วงเสาเเรกเป็นหลังคาคลุมบันได  อีก ๔ ช่วงเป็นส่วนที่ใช้ทำสังฆกรรม  บานหน้าต่างทำเป็นกรอบ ๔ เหลี่ยม  ขนาดเล็ก ๐.๓๐ ม. x๐.๘๐ ม. มีรูปเขียนสีติดกระจก  หน้าบันทั้งสองด้าน  ปั้นปูนเป็นลาย  ๔ดอกวางในแนวเสมอกันทั้งทางตั้งและทางนอนมีเส้นทแยง ๔๕ องศา เป็นตัวเชื่อมประสานดอกดวงให้เกี่ยวกันพันกันตลอด  กลางดอกมีกระจกสะท้อนแสงรูปวงกลมประดับอยู่ดูคล้ายลายผ้าขิดยกดอกซ้ำๆกัน  ส่วนด้านหน้ามีประตูเดียวทำเสาเหลี่ยมประกบ ๒ ด้าน แต่ไม่ได้เจาะผนังเป็นช่องหน้าต่างเพียงแต่ทำอาร์คไปประดับหลอกๆไว้เท่านั้น  ทั้งพญานาคที่ราวบันไดและฐานแอวขันก็ทำหยาบๆ แบบฝีมือช่างพื้นบ้านทั้วๆไป  บันไดทำผายออกเอาอย่างช่างญวน  ซึ่งถ่ายทอดมาจากอิทธิพลฝรั่งเศสอีกทอดหนึ่ง  โครงหลังนั้นคาเป็นไม้ทั้งหมด  เดิมมุงแป้นเกล็ดซึ่งสั่งซื้อมาจากไซ่ง่อน  แต่มีการบูรณะทำหลังคาใหม่ทับไป  มองเห็นหน้าบันเพียงส่วนล่างเท่านั้น   ฐานและผนังใช้อิฐถือปูนแบบโบราณ  ส่วนประดับตกแต่งใช้ไม้แกะสลักโดยช่างพื้นบ้านทั้งสิ้น ที่ถือเป็นจุดเด่นน่าสนใจของสิมหลังนี้  ก็คือ  ทวยนาคข้างละ ๕ ตัวนั้น  ช่างแกะสลักไม่ให้เหมือนกันเลย  แม้แต่คู่เดียว รูปแบบของศิลปะเป็นสกุลช่างพื้นบ้านอีสานอย่างเต็มที่  น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในหอพิพิธพันธ์ของวัด  ทวยนาคที่ติดตั้งอยู่ที่สิมในปัจจุบันได้หล่อปูนรูปแบบเหมือนกันทุกตัวติดตั้งไว้แทน

 
 

 

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

 
หน้าบันได้สร้างขึ้นใหม่ แขนนางปูนปั้นประยุกต์จากแบบดั้งเดิม มีภาพผ้าพระบทในกรอบไม้ดั้งเดิมประดับที่ผนัง
 

ซุ้มประตูเข้า ด้านบนมีลายปูนปั้น บันไดปั้นนาคสมัยปัจจุบันตกแต่งเพิ่มเติม

 

 

 

ภายในมีพระหลายยุคสมัยจัดวางบนฐานชุกชีเดิม

อาคารเสนาสนะอื่นๆ

 
หอแจกหลังใหญ่

มีงานปูนปั้นฝีมือแบบพื้นบ้าน